• Home
  • News
  • Health News
  • Travel News

News and Lifestyle

News

  • Home
  • News
  • Health News
  • Travel News

“ภาวะน้ำหนักเกิน” (โรคอ้วน) ที่ไม่ได้มาจากการ “กิน”

byadmin July 6, 2021 News

“ภาวะน้ำหนักเกิน” (โรคอ้วน) ที่ไม่ได้มาจากการ “กิน” เป็นภาวะทางสุขภาพที่เกิดจากหลายปัจจัย ทั้งทางพันธุกรรม สิ่งแวดล้อม วิถีชีวิต ส่งผลเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคต่างๆ ได้แก่ ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน โรคหัวใจ โรคอัมพฤกษ์อัมพาต โรคมะเร็งบางชนิด และยังกระทบต่อปัญหาทางกายภาพ เช่น มีการอุดกั้นทางเดินหายใจ หรือ โรคนอนกรน ข้อเข่าเสื่อม

ปัญหาโรคภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนจัดเป็นโรคที่ควรได้รับการดูแลรักษา เพราะว่าไม่ได้มาจากพฤติกรรมทานอาหารมากไป หรือขี้เกียจออกกำลังกายเพียงอย่างเดียว หลายคนอาจมีปัญหาจากฮอร์โมน เช่น ไทรอยด์ต่ำ หรือ มีภาวะถุงน้ำรังไข่ (PCOS) ส่งผลต่อการเผาผลาญของร่างกาย

ขั้นตอนในการดูแลรักษาภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วน

ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต โดยเริ่มต้นในสิ่งที่ตัวเองทำได้ง่ายก่อน
รับประทานอาหารแปรรูปน้อย เน้นโปรตีนและผักใบเขียว อาหารกลุ่มแป้งเน้นเป็นกลุ่มดัชนีน้ำตาลต่ำ (Low Glycemic Index) เช่น ข้าวกล้อง ผลไม้ไม่หวานจัด

เริ่มตั้งเป้าหมายการออกกำลังกาย

เพิ่มการใช้พลังงานในกิจวัตรประจำวัน เช่น เดินให้เยอะขึ้น ทำงานบ้านที่ใช้แรงเยอะๆ

ลดความเครียด และ ปรับคุณภาพการนอนให้ดี ถ้าไม่ปรับสองจุดนี้ การลดน้ำหนักก็จะไม่ค่อยสำเร็จ
การใช้ยาภายใต้คำแนะนำของแพทย์ กรณีมีข้อบ่งชี้ เพื่อให้การลดน้ำหนักสำเร็จง่ายขึ้น และลดความเสี่ยงโรคอื่นๆ เช่น เบาหวาน

การผ่าตัดกระเพาะอาหาร กรณีมีดัชนีมวลกายสูงมากและมีโรคร่วม
หลายคนเมื่อมีปัญหาเรื่องน้ำหนักตัว อาจจะพยายามลองลดด้วยตัวเองแล้วไม่ค่อยสำเร็จ แล้วคิดว่าเป็นเพราะพฤติกรรมของตัวเองอย่างเดียว แต่จริงๆแล้วอาจมีปัญหาอย่างอื่นซ่อนอยู่ก็ได้ จึงอยากสนับสนุนคนไข้ที่มีความคิดในการลดน้ำหนัก เข้าไปปรึกษาแพทย์หาสาเหตุ และรับฟังทางเลือกในการลดน้ำหนักที่หลากหลายและปลอดภัย เพื่อสุขภาพที่ดีในระยะยาว

ชาวมาเลเซียล็อกดาวน์โบกธงขาวขอความช่วยเหลือ

บริการทำความสะอาด: ของใช้ในบ้าน ทำความสะอาดบ่อยแค่ไหนถึงจะดี

Recent Posts

  • โปรแกรมหมอประจำบ้านอัจริยะ : เราสามารถหลีกเลี่ยงการเกิดนิ่วในไตได้
  • ต้นกำเนิดของแนสก้าไลน์ลึกลับของเปรู
  • ญี่ปุ่นขึ้นบัญชีดำนายกรัฐมนตรีรัสเซีย-บิ๊กความมั่นคง
  • ไมโครไบโอมในลำไส้ของการตอบสนองของผู้ป่วยต่อสแตติน
  • บิ๊กดาต้า (Big Data) เหมาะกับใคร?

Recent Comments

    Archives

    • May 2022
    • April 2022
    • March 2022
    • February 2022
    • January 2022
    • December 2021
    • November 2021
    • October 2021
    • September 2021
    • August 2021
    • July 2021
    • June 2021
    • May 2021
    • April 2021
    Proudly powered by WordPress | Theme: Showme by NEThemes.